ในยุคสมัยที่ค่าครองชีพสูงขึ้น การมีประกันชีวิต+ประกันสุขภาพ เปรียบเสมือนการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว ช่วยให้คุณเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมั่นใจ แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าประกันแบบไหนที่เหมาะกับตัวเอง และใครบ้างที่ควรมีประกันชีวิตควบคู่ไปกับประกันสุขภาพ บทความนี้มีมาบอกกัน
เฉลยข้อสงสัยประกันชีวิต+ประกันสุขภาพ เหมาะกับบุคคลเหล่านี้
- หัวหน้าครอบครัว
บุคคลที่เป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ควรมีประกันชีวิตเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เงินสินไหมทดแทนจากประกันชีวิตจะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และช่วยให้ครอบครัวอยู่ได้อย่างมั่นคง และหากเพิ่มเติมด้วยประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุม ก็จะช่วยให้หัวหน้าครอบครัวมั่นใจว่า ทุกการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นจะไม่กระทบกับแผนการเงินที่คุณสู้อุตสาห์วางไว้อย่างดิบดี และสามารถมีเงินเก็บเงินออมสำหรับเป้าหมายต่าง ๆ ของครอบครัวได้อย่างแน่นอน
- สมาชิกในครอบครัว
โดยหลักแล้วทุกคนในครอบครัวควรทำประกันสุขภาพเพื่อช่วยให้ทุกคนในครอบครัวได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี ป้องกันการเสียเงินในระยะยาวเนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่สูง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจส่งผลต่อเงินเก็บออมของครอบครัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้สนับสนุนครอบครัว แม้อาจไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวก็ควรทำประกันชีวิตด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าครอบครัวสามารถไปต่อได้แม้จะขาดกำลังสำคัญไป
- พนักงานบริษัทที่มีเพียงประกันสุขภาพ OPD
ประกันสุขภาพกลุ่มที่บริษัทให้มานั้น มักคุ้มครองแค่ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอก (OPD) ดังนั้น พนักงานบริษัทควรมีประกันสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายผู้ป่วยใน (IPD) เผื่อกรณีต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้ได้การรักษาที่ครอบคลุมและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และการทำประกันชีวิตเพิ่มเติมยังช่วยให้ครอบครัวได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์เสียชีวิต
- ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์
ผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ จะไม่มีประกันกลุ่มจากบริษัท ดังนั้นจึงควรมีประกันชีวิต+ประกันสุขภาพส่วนตัว เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงในกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต โดยควรเลือกกรมธรรม์ที่เหมาะสมกับรายได้และความต้องการความคุ้มครองของตน
- ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี
การทำประกันชีวิต+ประกันสุขภาพยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนลดหย่อนภาษี เนื่องจากส่วนลดหย่อนภาษีสามารถทำได้ตามกฎหมาย โดยเบี้ยประกันชีวิตสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท และเบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท ซึ่งควรพิจารณาประกันภัยที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ผู้ที่ต้องการวางแผนบำนาญ
การทำประกันชีวิต+ประกันสุขภาพยังช่วยในการวางแผนการเงินในอนาคต สำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นใจว่าจะมีเงินเพียงพอในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ โดยประกันชีวิตบางประเภทมีแบบสะสมทุน ช่วยให้มีเงินก้อนไว้ใช้หลังเกษียณอายุได้ และการมีประกันสุขภาพทำให้คุณมั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองอย่างดีแม้จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล
ตัวอย่าง: คุณสมจริง วัย 35 ปี ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีภรรยาและลูก 2 คน พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหญ่ที่ยังผ่อนอยู่ คุณสมจริงมีประกันสุขภาพกลุ่มจากบริษัท แต่คุ้มครองแค่ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอก OPD ครั้งละ 1,500 บาท เขาจึงตัดสินใจซื้อประกันชีวิต+ประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเป็นหลักประกันให้กับครอบครัว กรณีที่เขาเสียชีวิต เงินสินไหมทดแทนจากประกันชีวิตจะช่วยผ่อนภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของครอบครัว และประกันสุขภาพจะช่วยให้เขาได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในก็ตาม
การทำประกันชีวิต+ประกันสุขภาพไม่เพียงแค่เป็นเสมือนเกราะป้องกันที่ช่วยให้การปกป้องคุณและครอบครัวในเวลาที่ไม่คาดคิดเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางแผนทางการเงินที่สำคัญในอนาคต เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ที่เหมาะสมและมีความคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลและเลือกประกันที่เหมาะกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ เพื่อคุณและครอบครัว